ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   


เมนูหลัก
Link ที่น่าสนใจ


  

งานวิจัยการศึกษา
    เรื่อง :

เจ้าของผลงาน : นายสุทธิเกียรติ เพิ่มขึ้น
ศุกร์์ ที่ 26 เดือน มีนาคม พ.ศ.2564
เข้าชม : 802    จำนวนการดาวน์โหลด : 1586 ครั้ง
4 stars เฉลี่ย : 4 จาก 1 ครั้ง.

บทคัดย่อ :
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนเรื่องกาพย์เหเรือ โดยใช้การแสดงบทบาทสมมติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนทวีธาภิเศก บางขุนเทียน แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วรรณคดี โดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้วรรณคดีเรื่องกาพย์เหเรือ โดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมิน ความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนวรรณคดีเรื่องกาพย์เหเรือ โดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนทวีธาภิเศก บางขุนเทียน แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร จำนวนนักเรียน 32 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม (Sampling Unit) ใช้เวลาทดลอง 4 ชั่วโมงวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติแบบอิสระ  t-test (dependent)
ผลของการวิจัยพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องกาพย์เห่เรือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ดังผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ independent-samples t-test เพื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนเรื่องกาพย์เห่โดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ ก่อนเรียนและหลังเรียน ผลปรากฏว่ามีนักเรียนเข้าสอบจำนวน 32 คน ทำการทดสอบก่อนเรียนผลการวัดคือมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 8.85 เมื่อผ่านการจัดการเรียนการสอนอ่านจับใจความโดยใช้รูปแบบการการแสดงบทบาทสมมติ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 13.77 เมื่อนำผลการทดสอบมาวิเคราะห์ด้วยค่าสถิติ independent-samples t-test พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องกาพย์เห่เรือหลังเรียนสูงกว่าช่วงก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่สถิติระดับ 0.05
2. ผลจากการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนมีความพึงพอใจต่อได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ อยู่ในระดับพึงพอใจมาก จากการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจในด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุดมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ( = 4.76) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ (S.D.= 0.05) รองลงมาคือผลประโยชน์ที่ได้จากกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ( = 4.76) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ (S.D.= 0.10)  และบรรยากาศในการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ( = 4.72) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ (S.D.= 0.05)  ตามลำดับ ซึ่งตารางเห็นได้ว่านักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมมากที่สุดในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวรรณคดีโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ
 



ดาวน์โหลด  ( บทคัดย่อ) 

งานวิจัยการศึกษา 5 อันดับล่าสุด

      24/มี.ค./2565
      22/พ.ย./2564
      27/มี.ค./2564
      27/มี.ค./2564
      26/มี.ค./2564