ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   


เมนูหลัก
Link ที่น่าสนใจ


  

งานวิจัยการศึกษา
    เรื่อง :

เจ้าของผลงาน : นางวรรณิศา ใจก๋องแก้ว
เสาร์์ ที่ 27 เดือน มีนาคม พ.ศ.2564
เข้าชม : 734    จำนวนการดาวน์โหลด : 3302 ครั้ง
Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

บทคัดย่อ :
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1.  เพื่อศึกษากระบวนการในการพัฒนาผู้เรียนตามกระบวนการ TLLM  2.  เพื่อศึกษาผลการพัฒนาผู้เรียนตามกระบวนการ TLLM  3.  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนตามกระบวนการ TLLM เรื่องลำดับ
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6/2  โรงเรียนวิไลเกียรติอุปถัมภ์ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่  จำนวน 22  คน  ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2563  
             เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย  1.  แผนการจัดการเรียนรู้แบบ Teach less, Learn More (TLLM) เรื่อง ลำดับ  2.  ใบกิจกรรมประจำแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Teach less, Learn More (TLLM)   เรื่อง ลำดับ  3.  เครื่องมือวัดผลและรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยเครื่องมือดังนี้  3.1 แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน  3.1.1.  อัตนัยจำนวน  2  ข้อ  3.1.2.  ปรนัยจำนวน  30  ข้อ  3.2 แบบสอบถามวัดความพึงพอใจและแบบวัดเจตคติของนักเรียน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
                  1.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ลำดับ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
                  2.  ค่าฐานนิยมของความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ Teach less, Learn More (TLLM) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 เรื่อง ลำดับ ในภาพรวม ข้อที่มีระดับความพึงพอใจมากที่สุดคือการจัดลำดับเนื้อหาในใบกิจกรรมมีความชัดเจน ตรงตามจุดประสงค์ เป็นการพัฒนาผู้เรียนโดยใช้เทคนิคกระตุ้นให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติเรียนรู้ลงมือทำเอง การเรียนโดยวิธีกระบวนการ TLLM พัฒนาผู้เรียนโดยการวัดผลตามสภาพจริง และการเรียนด้วยวิธี TLLM ช่วยให้นักเรียนเกิดความรอบคอบในการทำงาน รู้จักรับผิดชอบงานที่ตนเองได้รับมอบหมาย
          3.  ค่าเฉลี่ยของเจตคติต่อคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6/2  มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.82  แสดงว่านักเรียนมีเจตคติต่อคณิตศาสตร์อยู่ในระดับค่อนข้างมาก

ดาวน์โหลด  ( Fulltext )  ( บทคัดย่อ ) 

งานวิจัยการศึกษา 5 อันดับล่าสุด

      24/มี.ค./2565
      22/พ.ย./2564
      27/มี.ค./2564
      27/มี.ค./2564
      26/มี.ค./2564